วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ sunitjo travel พาเดินชม ทุกซอกมุม

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (IATABKKICAOVTBS) เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-บางปะกง ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[3] รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553[4]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกแบบโดยเฮลมุต ยาห์น มีหอควบคุมที่สูงเป็นอับดับสองของโลก (132.2 ม.) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (563,000 ม.²) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมง และผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี[5]) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี[5]) นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ดสายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์และบางกอกแอร์เวย์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน
ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 ใช้แทนชื่อเดิม คือ "หนองงูเห่า" และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545[6]
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาอังกฤษ ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"

การซื้อที่ดินและการก่อสร้างในช่วงแรก



แนวคิดในการก่อสร้าง ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงครามเช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์ และองค์การบริหารการบินพลเรือนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้าง ท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงเริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[7] พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท[8] นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่[9]
รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้าง ก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ จนสัมปทานถูกยกเลิก[10] ต่อมา รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์ เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด[10] เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้าง ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่สอง ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ
หลังจากความไม่แน่นอนมานานหลายทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2539 จึงมีการจัดตั้ง บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (New Bangkok International Airport Company Limited; NBIA) แต่การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพิ่งจะสามารถเริ่มขึ้นได้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 สืบเนื่องมาจาก การขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้น มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540–2544) และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มีการโอนหน้าที่อำนวยการก่อสร้างและการจัดการ ให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งปิดกิจการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด



ดูเพิ่มเคิม คลิ๊ก   www.sunitjotravel.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น